วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09.00-12.00 น. กรมทางหลวง โดยสำนักสำรวจและออกแบบจัดประชุมสรุปผลการคัดเลือกรูปแบบการพัฒนาโครงการ (สัมมนา ครั้งที่ 2)

วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09.00-12.00 น. กรมทางหลวง โดยสำนักสำรวจและออกแบบจัดประชุมสรุปผลการคัดเลือกรูปแบบการพัฒนาโครงการ (สัมมนา ครั้งที่ 2) โครงการจ้างวิศวกรที่ปรึกษาสำรวจและออกแบบ และบูรณะสะพาน บนทางหลวงหมายเลข 4 ในพื้นที่ จังหวัดเพชรบุรี สมุทรสงคราม ประจวบคีรีขันธ์ และชุมพร (กลุ่มที่ 2 พื้นที่แขวงทางหลวงเพชรบุรี และแขวงทางหลวงสมุทรสงคราม (ครอบคลุมเขตปกครองในพื้นที่ ตำบลห้วยโรง ตำบลหนองชุมพลเหนือ ตำบลบางเค็ม ตำบลหนองชุมพล ตำบลสระพัง ตำบลเขาย้อย ตำบลทับคาง ตำบลหนองปลาไหล ตำบลหนองปรง อำเภอเขาย้อย ตำบลท่ายาง อำเภอท่ายาง ตำบลเขาใหญ่ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี)) ณ หอประชุมเทศบาลเมืองเพชรบุรี ชั้น 2 ตำบลคลองกระแชง

อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี ร่วมกับการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ Zoom Cloud Meeting โดยมี นายพอพล อุทัยศรี รองผู้อำนวยการแขวงทางหลวงเพชรบุรี เป็นประธานการประชุม นายสุรเชษฐ์ เลขาจารกุล วิศวกรโยธาปฏิบัติการ กล่าวรายงาน ต่อมา กลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ประกอบด้วย บริษัท อินเด็กซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) บริษัท สยาม-เทค กรุ๊ป จำกัด และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ชี้แจงรายละเอียดโครงการ รูปแบบทางเลือก และสรุปผลการคัดเลือกรูปแบบที่เหมาะสมของโครงการ การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น และผลการดำเนินงานการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมดประมาณ 100 คน (จำแนกเป็นในห้องประชุม จำนวน 50 คน และร่วมประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ Zoom Cloud Meeting จำนวน 50 คน)

สรุปผลการประชุมได้ดังนี้

  1. กม.ที่ 144+284 สะพานห้วยหนองจิก ขอให้ลงทำประชาคมเพื่อชี้แจงให้ประชาชนในพื้นที่รับทราบการดำเนินการซ่อมแซมสะพาน
  2. ขอให้คำนึงถึงเรื่องทางกลับรถ การระบายน้ำ
  3. กม.ที่ 169+200 สะพานคลองชลประทานสาย 3 กำแพงกันดินที่กั้นไม่อยู่ ผนังกั้นน้ำรั่ว ระบบระบายน้ำมีปัญหาเพราะระดับท่อลอดต่ำกว่าคลอง ขอให้แก้ไขและบูรณการร่วมกับส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และขอให้มีการแก้ไขช่องว่างระหว่างสะพานเนื่องจากอาจมีวัสดุหล่นลงมาข้างล่างทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้ถนนใต้สะพานได้
  4. กม.ที่ 170+105 สะพานคลองระหานบอน ขอให้คำนึงถึงเสาตอม่อสะพานที่อยู่บริเวณกลางคลอง เพราะอาจเกิดความเสียหายเนื่องจากมีสิ่งกีดขวางและเป็นจุดรับน้ำในฤดูน้ำหลาก
  5. กม.ที่ 137+760 สะพานห้วยโรงสีโพธิ์แก้ว ขอให้ติดไฟใต้สะพานทางกลับรถ และมีตอม่อเก่าที่กีดขวางทางระบายน้ำ
  6. กม.ที่ 129+650 สะพานคลองบางเค็ม ขอให้มีแนวทางจัดการด้านความปลอดภัยในระหว่างการซ่อมแซมสะพาน มีป้ายเตือนต่างๆ ติดตั้งให้ชัดเจน
  7. กม.ที่ 138+400 สะพานห้วยวัดยาง การก่อสร้างสะพานไม่ตรงกับลำราง ทำให้สะพานขวางทางน้ำ และการระบายน้ำในช่วงฤดูฝนไม่เป็นไปตามแนวของลำห้วยที่เป็นรูปตัว S ทำให้น้ำไม่สามารถระบายได้ตามแนวลำห้วย
  8. เสนอให้มีสะพานกลับรถ (เกือกม้า) หรือทางข้ามต่างระดับให้กับรถบรรทุกเพื่อความปลอดภัย